-- หมวดหมู่ --
พระคง ลำพูน
หนังสือพระ
หลวงปู่ทวด วัดไทร
หลวงปู่บุญศรี วัดใหม่ศรีสุทธาวาส
หลวงปู่ศุข วัดเขาจอมคีรีนาคพรต
หลวงปู่ศุข วัดโพธาราม
หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
หลวงพ่อขาว ค่ายจิระประวัติ
หลวงพ่อขาว วัดชุมนุมสงฆ์
หลวงพ่อขาว วัดหนองยาว
หลวงพ่อคำ วัดสุวรรณรัตนาราม
หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
หลวงพ่อชม วัดเนินหญ้าคา
หลวงพ่อชอุ้ม วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงพ่อทอง วัดเขากบ
หลวงพ่อทองดี วัดไทรเหนือ
หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยไชยเหนือ
หลวงพ่อท้าว กัลยาโณ
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อน้อย วัดเวียงสวรรค์
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดวังม้า
หลวงพ่อปาน วัดหนองนมวัว
หลวงพ่อผล วัดสวนขวัญ
หลวงพ่อผ่อง วัดวังมหากร
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระเหนือ
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระใต้
หลวงพ่อพลับ วัดเกรียงไกรกลาง
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน
หลวงพ่อพันธ์ วัดเขาล้อ
หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
หลวงพ่อภู่ วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองศรีนวล
หลวงพ่อลี วัดป่าหัวตลุก
หลวงพ่อศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
หลวงพ่อสวาสดิ์ วัดห้วยร่วม
หลวงพ่อสว่าง วัดหาดทรายงาม
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่ออุย วัดช่องคีรี
หลวงพ่ออ่อน วัดบางมะฝ่อ
หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว
หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อเดิม วัดเขาทอง
หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
หลวงพ่อเฮง
หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง
หลวงพ่อแขก วัดเขาดินเหนือ
หลวงพ่อแท่น วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อโต - เพชร วัดหัวดงเหนือ
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้
หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำหนองแขม
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ
|
<-- ย้อนกลับ ::
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร > พระรูปหล่อ-รูปเหมือน >
หลวงพ่อจ้อย
รายละเอียด |
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร พ.ศ.2535 รุ่นมหาลาภ
เนื้อทองคำ เลข ๖๖ วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์.สร้าง
หลวงพ่อจ้อย จนฺทสุวณฺโณ (8 เมษายน พ.ศ. 2456 — 16 เมษายน พ.ศ. 2550) เทพเจ้าแห่งเมืองปากน้ำโพ อดีตเจ้าอาวาส วัดศรีอุทุมพร เป็นพระผู้เปี่ยมไปด้วยเมตตากรุณา เป็นพระนักพัฒนา ที่ชาวจังหวัดนครสวรรค์ และเขตติดต่อ ให้ความเคารพนับถือ
ผู้บุกเบิกสร้างวัด และหมู่บ้าน
แต่เดิมโยมท่านและตัวท่าน มีภูมิลำเนาถิ่นฐานอยู่บ้านดอนหวาย ตำบลพรวงสองนาง อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี โยมชายหญิงของท่าน เห็นว่าที่ทำกินมันชักจะแคบเข้าทุกที ทำนาไม่เพียงพอ ลูกที่มีเพิ่มขึ้น ชีวิตในโลกนี้คือการดิ้นรน คนส่วนมากของประเทศโดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา ดิ้นรนเพียงเพื่อมีชีวิตอยู่ ทุ่มเทชีวิตเรี่ยวแรงหยาดเหงื่อทุกหยด เพื่อความมีชีวิตของตน สมัยนั้นมีดินป่าไม้ยังรกร้างว่างเปล่า ไม่ต้องยื้อแย่งกรรมสิทธิ์อะไรกัน ผู้คนพลเมืองยังมีน้อย “ดินดีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง” มีอยู่มากมาย ใครมีกำลังเรี่ยวแรงเท่าไร ก็มาหักล้างถางพงให้เป็นไร่เป็นนา เอาตามความสามารถของตน พอทำกินเลี้ยงลูกเมียแล้วก็พอใจ มิได้กำเริบใจจะเป็นนายทุนเจ้าของที่ดินเป็นหมื่นเป็นพันไร่อย่างในปัจจุบันนี้ เมื่อทราบว่าทางบ้านวังเดื่อ ตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์ ยังมีที่ดินว่างเปล่าอยู่มาก จึงไปปรึกษาชักชวนกันอพยพจากถิ่นเดิม เอาพริก เอาเกลือ เอาข้าวใส่โคเทียมเกวียนมา จอบเสียมเครื่องมือทำกินก็เอามาพร้อมเดินทางรอนแรม ค่ำไหนนอนนั่นมาหลายวันหลายคืน ผ่านมาทางหนองขุย ห้วยอีด่าง ลักเข้าหนองกล้ำเข้าดอนเพชร โนนแดง ข้ามแม่น้ำแควตากแดด ขึ้นบ้านวังหินดาร หนองกระทุ่ม เรื่อยมา ทางรถเรียบรถยนต์วิ่งได้สบายบรื๋อ อย่างเดี๋ยวนี้หามีไม่ เกวียน มีสิทธิ์ที่จะใช้ทางเกวียนอย่างเต็มที่ ก็ทางเกวียนนี่แหละ ที่เป็นเครื่องวัดนิสัยใจคอของคนไทยแต่ไรมา เมืองไทยอากาศมันร้อน จะเดินทางไปไหนก็ลดเลี้ยวเลี่ยงไปเดินตามร่มเงา
หรือที่ไหนรกทึบด้วยแมกไม้ ยากเกินไปที่จะบุกป่าฝ่าหนาม ก็เลี่ยงเดินเสียที่มันเตียนไม่ต้องออกแรง ทางที่เริ่มขึ้นเป็นทางเดินเท้าต่อมาก็ขยายกว้างเป็นทางเกวียน โคกระบือเทียมเกวียนจึงพาเกวียนเลี้ยวลดไปตามทางที่มีอยู่ ที่จะลัดตัดตรงนั้นไม่มี โบราณว่าเกวียนหนีทางไม่ได้ กว่าจะพาครอบครัวอพยพถึงวังเดื่อได้ก็หลายวันเต็มที
ครอบครัวของหลวงพ่อจ้อย นับว่าเป็นผู้บุกเบิกดินแดนถิ่นนี้เป็นครั้งแรก ตั้งหน้าหักร้างถางป่า อีกหลายปีจึงมีที่ดินทำไร่ไถนาได้พอเลี้ยงกัน จากนั้นก็ไปชักชวนเพื่อนพวกพี่น้องในถิ่นเดิม ให้มาบุกเบิกทำกินกันตามกำลัง “ดินดีเพราะป่าปก ป่ารกเพราะเสือยัง” เหลืออยู่อีกมากมาย ไม่หวงแหนกีดกันเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันตามประสาไทย ใครมีแรงมากเอาให้มาก มีแรงน้อยก็เอาแต่พอแรงของตน บ้านวังเดื่อที่เคยเป็นป่า บักนี้ก็ค่อยๆ กลายเป็นแหล่งชุมชนของหมู่บ้าน และที่เราเรียกกันว่า “บ้านวังเดื่อ” เพราะว่าได้มีต้นมะเดื่อขนาดสูงใหญ่ขึ้นอยู่ที่ริมคลองหลังวัด และในปัจจุบันนี้ก็ยังคงเหลือเพียงแต่ตอของต้นมะเดื่อ ที่จมอยู่ในคลองของด้านหลังวัด และเราจะสามารถเห็นตอนี้ได้ก็ต่อเมื่อน้ำในคลองได้ลดลง ต่อมา..โยมพ่อโยมแม่ และญาติโยม ชาวบ้านวังเดื่อได้พร้อมใจกันยกที่ให้หลวงพ่อได้ทำการสร้างเป็นที่พักสงฆ์
เพื่อจะเอาไว้เป็น ที่สาธารณประโยชน์ในการบำเพ็ญกุศล
แล้วจึงได้นิมนต์พระภิกษุสงค์มาจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์แห่งนี้ ต่อมาทางคณะสงฆ์ได้จัด ตั้งวัดขึ้นให้เป็นวัดที่สมบูรณ์แบบถูกต้องตามกฎหมาย ชื่อว่า “วัดศรีอุทุมพร” เพราะว่าตามหลักภาษาบาลี “ไม้มะเดื่อ” นั้นแปลว่า “ไม้อุทุมพร” พอเติมคำว่า “ศรี” เข้าไปก็เป็น “วัดศรีอุทุมพร” คือวัดที่เป็นสิริงดงาม จึงเป็นมงคลนาม
ประวัติหลวงพ่อจ้อย จันทสุวัณโณ วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์
โดยสังเขป...
หลวงพ่อจ้อยอุปสมบทที่ วัดดอนหวาย ต.พรวงสองนาง จ.อุทัยธานี เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๗๖ โดยมี
1. พระครูปลัดตุ้ยเป็นพระอุปัชฌาย์
2. พระอาจารย์บุญธรรม เป็นพระกรรมวาจาจารย์
3. พระอาจารย์บุญตาเป็นพระอนุสาวนาจารย์
ได้รับฉายาว่า “จันทสุวัณโณ” ซึ่งแปลว่า “ผู้มีผิวพรรณงามดั่งพระจันทร์ “
ด้านการศึกษาวิชาอาคม
ในขณะที่หลวงพ่อ ได้ไปตั้งต้นเดินธุดงค์จากเหนือลงมา ตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ จนถึง จ.นครปฐม ได้มีการศึกษาวิชาอาคมไสยเวทย์ต่าง ๆ กับพระอาจารย์หลายรูป
เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก โดยเรียนวิชาการทำตะกรุดโทน ผ้าประเจียด การทำน้ำมนต์ เกี่ยวกับยันต์มหาอำนาจ แก้กันคุณไสยต่าง ๆ และการทะยันต์ตรีนิสิงเห
หลังจากนั้นได้เดินทางไปเรียนวิชาต่อกับหลวงพ่อฉาบ วัดคลองจัน อ.หันคา จ.ชัยนาท โดยได้ทำการเรียนวิชา การเขียน ลบผงอิทธิเจ ปถมัง พุทธคุณ และมหาราช
ต่อมาได้เดินทางไปหาหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาความรู้ต่าง ๆ แก่กัน โดยหลวงพ่อได้เรียนวิชา พระคาถานะ ๑๐๘ ธาตุทั้ง ๔ และหัวใจพระคาถาต่าง ๆ
และหลวงพ่อยังได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาอาคม กับหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ โดยได้ศึกษาวิชาการทำมีดหมอเทพศาสตราวุธ “สักกัสสะ วชิราวุธทัง ปลายันติ” วิชาการปลุกเสกเกี่ยวกับงาแกะ และคาถาทำน้ำมนต์ต่าง ๆ
***ปัจจุบัน หลวงปู่จ้อย ท่านได้ละสังขารแล้วอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๖ เมย. ๒๕๕๐ รวมอายุ ๙๔ ปี ๗๔ พรรษา
ร่างท่านอยู่บนมณฑป-หอไตร ที่วัดศรีอุทุมพร (วังเดื่อ) ซึ่งทางวัดได้นำท่านบรรจุเก็บไว้ในโลงแก้วครับ..
|
|