ศูนย์รวมพระเครื่อง จ.นครสวรรค์ (ยุทธปืนพยนต์)
-- หมวดหมู่ --
พระคง ลำพูน
พระซุ้มนครโกษา กรุดงบ้านโพธิ์
พระนางพญา กรุวัดหัวเมือง
วัดตะแบก
หนังสือพระ
หลวงปู่ทวด วัดไทร
หลวงปู่บุญศรี วัดใหม่ศรีสุทธาวาส
หลวงปู่ศุข วัดเขาจอมคีรีนาคพรต
หลวงปู่ศุข วัดโพธาราม
หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
หลวงพ่อขาว ค่ายจิระประวัติ
หลวงพ่อขาว วัดชุมนุมสงฆ์
หลวงพ่อขาว วัดหนองยาว
หลวงพ่อคล้าย วัดพนมรอก
หลวงพ่อคำ วัดสุวรรณรัตนาราม
หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
หลวงพ่อชม วัดเนินหญ้าคา
หลวงพ่อชอุ้ม วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงพ่อทอง วัดเขากบ
หลวงพ่อทองดี วัดไทรเหนือ
หลวงพ่อทองหยด วัดหัวถนน
หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยไชยเหนือ
หลวงพ่อท้าว กัลยาโณ
หลวงพ่อนิ่ม วัดชุมแสง
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อน้อย วัดเวียงสวรรค์
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดวังม้า
หลวงพ่อปาน วัดหนองนมวัว
หลวงพ่อผล วัดสวนขวัญ
หลวงพ่อผ่อง วัดวังมหากร
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระเหนือ
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระใต้
หลวงพ่อพลับ วัดเกรียงไกรกลาง
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน
หลวงพ่อพันธ์ วัดเขาล้อ
หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
หลวงพ่อภู่ วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองศรีนวล
หลวงพ่อลี วัดป่าหัวตลุก
หลวงพ่อศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
หลวงพ่อสวาสดิ์ วัดห้วยร่วม
หลวงพ่อสว่าง วัดหาดทรายงาม
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่ออุย วัดช่องคีรี
หลวงพ่ออ่อน วัดบางมะฝ่อ
หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว
หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อเดิม วัดเขาทอง
หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
หลวงพ่อเฮง
หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง
หลวงพ่อแขก วัดเขาดินเหนือ
หลวงพ่อแท่น วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อโต - เพชร วัดหัวดงเหนือ
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้
หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำหนองแขม
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ
เจ้าพ่อ เจ้าแม่ ชุมแสง

<-- ย้อนกลับ :: หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ > เหรียญปั๊ม-เหรียญหล่อ > หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
ชื่อ หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
ราคา HZJLOMVT
สถานะ
พระโชว์
อัปเดตล่าสุด 16-03-2025
โทรติดต่อ 0615399251
รายละเอียด
เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก พระครูนิวาสธรรมโกศล (กลิ้ง สนฺติภูโต) วัดเกรียงไกรเหนือ ปี พ.ศ.2500 สภาพสวยแชมป์ เหรียญนี้ เป็นพระหน้าใหม่ในวงการ ครับ เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก พระครูนิวาสธรรมโกศล (กลิ้ง สนฺติภูโต) วัดเกรียงไกรเหนือ ตำบลเกรียงไกร อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตำบลเกรียงไกร แต่เดิมในอดีตเป็นหมู่บ้านที่มีความเจริญอยู่ติดริมแม่น้ำ มีชื่อเดิมว่า ‘เชียงไกร’ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้นลำเชียงไกรและบุงบอเพ็ด ดังในพระราชนิพนธ์ว่า “ลำน้ำเชียงไกร วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ตุลาคม ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) เวลาเช้า ๑ โมง ได้ลงเรือครุฑเหิรเห็จขึ้นไปทางแควใหญ่ แล้วไปทางลำน้ำเชียงไกร ลำน้ำนี้ยังกว้าง น้ำก็ลึก เรือพายม้าเดินได้ในฤดูแล้งตลอดปี สองข้างเป็นป่าไม้กะเบาเป็นพื้น มีเรือขึ้นล่องเนืองๆ บ้านเรือนเรียงรายกันไป” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับแรมที่วัดเชียงไกร ในปีนั้นเกิดน้ำท่วมใหญ่จึงทำให้เจดีย์ที่พังลง จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดใหญ่คงคาราม’ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๔ นายทัย สุวรรณกนิษฐ์ ได้เป็นกำนันในแถบลำเกรียงไกร ได้รับพระราชทานราชทินนามเป็น ‘ขุนเกียรติเกรียงไกรกำราบพาล’ จึงเปลี่ยนชื่อตำบล และวัดใหญ่คงคารามได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดเกรียงไกรกลาง ด้วยเหตุที่วัดในตำบลนี้มี ๓ วัดด้วยกัน ล้วนชื่อวัดเกรียงไกรทั้งสิ้น จึงยังมีวัดเกรียงไกรเหนือ และวัดเกรียงไกรใต้ และที่วัดเกรียงไกรเหนือ มี่อดีตเจ้าอาวาสวัดนาม ‘พระครูนิวาสธรรมโกล’ หรือ ‘หลวงพ่อกลิ้ง สนฺติภูโต’ วัดเกรียงไกรนี้แต่เดิมชื่อ ‘วัดบึงบรเพ็ด’ หรือ ‘วัดท่าขี้เหล็ก’ เพราะวัดเดิมนั้นตั้งอยู่ในบริเวณบึงบรเพ็ด จะสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากกหลักฐาน แต่ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เมื่อทางราชการได้ประกาศให้บึงบรเพ็ดเป็นเขตสงวนพันธุ์สัตว์น้ำ ประชาชนและสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ประกาศต้องอพยพออกจากพื้นที่ วัดบึงบรเพ็ดจึงย้ายมาตั้งในพื้นที่ปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘วัดเกรียงไกรเหนือ’ กล่าวสำหรับหลวงพ่อกลิ้งนั้น ปูมหลังกล่าวไว้ว่า เกิดที่บ้านทับกฤช หมู่ที่ ๗ ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง เป็นบุตรของนายอ่ำ เพชรสอาด และนางแหน เพชรสอาด มีพี่น้องร่วมบิดามารดา คือ ๑. นางแผ้ว ๒. ชายไม่ทราบชื่อด้วยเสียชีวิตแต่ยังเยาว์ ๓. นายโอ๊ด ๔. พระครูนิวาสธรรมโกศล​(กลิ้ง สนฺติภูโต) ๕. นายแป้น ในวัยเด็กขณะอายุได้ ๑๒ ปี ผู้เป็นบิดาได้นำตัวไปฝากเป็นศิษย์วัดเรียนหนังสือในสำนักวัดส่วางอารมณ์ (ทับกฤชใต้) อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ กับพระภิกษุน้อย ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า เมื่อเริ่มอ่านเขียนหนังสือไทยได้แล้ว พระภิกษุน้อยจึงได้ให้เรียนหนังสือขอมควบคู่กันไปด้วย เรียนอยู่ประมาณ ๒ ปี สามารถเขียนอ่านทั้งหนังสือไทย หนังสือขอมได้จนคล่องแล้ว จึงได้เริ่มเรียนมูลกระจายน์ เรียนมูลกัจจายน์กับพระอุปัชฌาย์ภู่ที่สำนักเรียนเดิม แต่เรียนได้เพียง ๑ ปี พระอุปัชฌาย์ภู่มรณภาพ นายเผือกผู้เป็นอาจึงได้นำไปฝากเป็นศิษย์พระครูสวรรค์วิถีวิสุทธิอุตตมคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเจ้าอาวาสวัดจอมคีรีนาคพรต เพื่อศึกษามูลกระจายน์ต่อ เรียนได้ ๑ ปี พระครูสวรรค์วิถีฯ (ครุฑ) ทราบว่าที่วัดตะแบก ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ได้จัดตั้งโรงเรียนสอนมูลกระจายน์ ได้จ้างครูมาสอน จึงได้ฝากมาเรียน ณ โรงเรียนแห่งนี้ มีพระมหาโตเป็นผู้สอน พร้อมทั้งได้บรรพชาเป็นสามเณร เรียนได้เพียง ๑ ปี พระมหาโตได้ลาออกไปทางโรงเรียนไม่สามารถหาครูมาสอนได้ พระครูสวรรค์วิถีฯ จึงได้นำไปฝากเรียนที่สำนักวัดศีรษะเมือง หรือวัดนครสวรรค์ในปัจจุบันนี้ มีมหาพุฒ ซึ่งเป็นฆราวาสเป็นผู้สอน พร้อมทั้งยังได้เรียนธรรมบทขุทกนิกายควบคู่กันไปด้วย เรียนอยู่ประมาณ ๒ ปี เมื่ออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ บิดาและมารดาได้จัดให้อุปสมบท ณ วัดเกรียงไกรใต้ มีพระครูสวรรค์วิถีวิสุทธิอุตตมาคณาจารย์สังฆปาโมกข์ (ครุฑ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทองอยู่ เจ้าอาวาสวัดนครสวรรค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์นิ่ม อินฺทโชโต วัดนครสวรรค์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้วได้จำพรรษาที่วัดนครสวรรค์เพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อทั้งสมถกรรมฐานและพระปริยัติธรรม โดยได้เรียนสมถกรรมฐานกับหลวงพ่อทอง วัดเขากบ (วัดวรนาถบรรพต) เรียนอยู่ที่วัดนครสวรรค์ ๕ ปี จนไม่มีครูทำการสอนต่อ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเขากบเพื่อเรียนสมถกรรมฐานกับหลวงพ่อทองเพื่อให้เชี่ยวชาญด้านสมถกรรมฐานยิ่งขึ้น เรียนได้ ๑ พรรษา จากนั้นย้ายไปจำพรรษาอยู่วัดคงคาราม (วัดเกรียงไกรกลาง) ได้ร่ำเรียนแปลพระปาฏิโมกข์กับมรรวิภังค์และสติปัฏฐานกับหลวงพ่อพลับ เรียนได้ ๑ พรรษา เมื่อพระอาจารย์นิ่ม ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดตลิ่งชัน (วัดพรหมจริยาวาส) ได้ชวนให้ไปอยู่ด้วยเพื่อช่วยสวดปาฏิโมกข์ ได้จำพรรษาที่วัดตลิ่งชันนี้ ๒ พรรษา จากนั้นญาติโยมได้ขอร้องให้มาจำพรรษาที่วัดทับกฤชใต้ ซึ่งขณะนั้นมีพระปลัดวาสเป็นเจ้าอาวาสวัด และที่วัดยังไม่มีโรงเรียนทำการสอนหนังสือไทยแก่ศิษย์วัด ท่านจึงได้ทำการสอนหนังสือไทยที่วัดทับกฤชใต้อยู่ ๔ พรรษา ต่อจากนั้นพระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเขาแก้ว เมื่อครั้งยังเป็นที่ ‘พระญาณกิติ’ เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ ทราบว่าเจ้าอาวาสวัดหัวกระทุ่ม ตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ไม่อยู่จึงได้ให้ไปรักษาการแทน ครั้นเมื่อเจ้าอาวาสวัดหัวกระทุ่มกลับมาแล้วจึงได้มอบหน้าที่คืนดังเดิม แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดทับกฤชใต้ ที่วัดทับกฤชใต้ หลวงพ่อกลิ้งได้ช่วยพระปลัดวาสในการซ่อมแซม โยกย้าน และก่อสร้างกุฏิสงฆ์หลายหลัง พร้อมทั้งยังช่วยสอนหนังสือแก่เด็กอยู่ ๒ ปี ประจวบกับทางชาวบ้านท่าดินแดง มีนายโห้ บุยกลิ่นขจร และนายปลื้ม นกเพ็ง เป็นหัวหน้าชาวบ้านไปกราบนมัสการพระครูนิภากรโศภณ (นิ่ม อินฺทโชโต) เจ้าคณะอำเภอชุมแสง ให้ช่วยจัดสร้างวัดขึ้นใหม่ที่บ้านท่าดินแดง แต่ยังเจ้าอาวาสวัดอยู่ จึงได้นิมนต์หลวงพ่อกลิ้ง ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าดินแดง ซึ่งพระครูนิภากรโศภณ (นิ่ม อินฺทโชโต) ได้ให้หลวงพ่อกลิ้งมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดท่าดินแดง โดยชาวบ้านได้จัดขบวนแห่มารับท่านจากวัดทับกฤชใต้เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ เมื่อบึงบรเพ็ดถูกประกาศเป็นพื้นที่สงวนพันธุ์สัตว์น้ำ ทำให้วัดบึงบรเพ็ดซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ต้องย้ายออกมา โดยได้ย้ายมารวมกับวัดท่าดินแดง และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดเกรียงไกรกลางในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ด้วยเกียรติคุณความดีและการปฏิบัติภารกิจสงฆ์ จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวดเกรียงไกรเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ ‘พระครูนิวาสธรรมโกศล’ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงพ่อกลิ้งมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ สิริอายุได้ ๘๐ ปี ๖ เดือน พรรษาที่ ๖๐ สำหรับเหรียญปั๊มรุ่นแรกของหลวงพ่อกลิ้ง คาดว่าสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. ๒๕๐๓ แต่ต้องดูให้ดีด้วยมีเหรียญอีกรุ่นที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ซึ่งใช้บล็อกด้านหน้าเดียวกัน แต่แกะบล็อกหลังใหม่ แต่จะไม่มีขีดที่ปลายยันต์ไปจดอักขระขอม สำหรับเหรียญรุ่นแรกให้สังเกตตรงคำว่า ‘วัดเกรียงไกรเหนือ’ ตัว ‘อ.อ่าง’จะมีเส้นขีด และสังเกตด้านหลังเหรียญตรงมุมบนยันต์ด้านขวามือจะมีเส้นแตกขีดไปติดกับตัวอักขระขอม ตัว ‘อะ’ ซึ่งมีรูปลักษณะคล้าย ร.เรือ ‘ร-ร’