-- หมวดหมู่ --
พระคง ลำพูน
หนังสือพระ
หลวงปู่ทวด วัดไทร
หลวงปู่บุญศรี วัดใหม่ศรีสุทธาวาส
หลวงปู่ศุข วัดเขาจอมคีรีนาคพรต
หลวงปู่ศุข วัดโพธาราม
หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
หลวงพ่อขาว ค่ายจิระประวัติ
หลวงพ่อขาว วัดชุมนุมสงฆ์
หลวงพ่อขาว วัดหนองยาว
หลวงพ่อคำ วัดสุวรรณรัตนาราม
หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
หลวงพ่อชม วัดเนินหญ้าคา
หลวงพ่อชอุ้ม วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงพ่อทอง วัดเขากบ
หลวงพ่อทองดี วัดไทรเหนือ
หลวงพ่อทองหยด วัดหัวถนน
หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยไชยเหนือ
หลวงพ่อท้าว กัลยาโณ
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อน้อย วัดเวียงสวรรค์
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดวังม้า
หลวงพ่อปาน วัดหนองนมวัว
หลวงพ่อผล วัดสวนขวัญ
หลวงพ่อผ่อง วัดวังมหากร
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระเหนือ
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระใต้
หลวงพ่อพลับ วัดเกรียงไกรกลาง
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน
หลวงพ่อพันธ์ วัดเขาล้อ
หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
หลวงพ่อภู่ วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองศรีนวล
หลวงพ่อลี วัดป่าหัวตลุก
หลวงพ่อศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
หลวงพ่อสวาสดิ์ วัดห้วยร่วม
หลวงพ่อสว่าง วัดหาดทรายงาม
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่ออุย วัดช่องคีรี
หลวงพ่ออ่อน วัดบางมะฝ่อ
หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว
หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อเดิม วัดเขาทอง
หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
หลวงพ่อเฮง
หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง
หลวงพ่อแขก วัดเขาดินเหนือ
หลวงพ่อแท่น วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อโต - เพชร วัดหัวดงเหนือ
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้
หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำหนองแขม
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ
|
<-- ย้อนกลับ ::
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ > พระบูชา >
พระบูชา หลวงพ่อสมควร หน้าตัก 5 นิ้ว รุ่นพระพุทธเบญจรัตนมงคล พ.ศ.2539
รายละเอียด |
พระบูชา หลวงพ่อสมควร หน้าตัก 5 นิ้ว รุ่นพระพุทธเบญจรัตนมงคล พ.ศ.2539 ที่ระลึกาญจนาภิเษก ๕๐ ปี และฉลองอายุครบ ๘๐ ปี
ประวัติ หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล วัดถือน้ำ (วัดศรีสวรรค์สังฆาราม)
"พระครูนิมิตนวกรรม" หรือ "หลวงพ่อสมควร วิชชาวิสาโล" วัดศรีสวรรค์สังฆาราม (วัดถือน้ำ) ต.นครสวรรค์ออก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นพระเถระนักปฏิบัติ นักพัฒนา ผู้มีเมตตาจิตสูง รักสันโดษ มีความเชี่ยวชาญในการวิปัสสนากรรมฐานและศาสตร์ต่างๆ ชาวนครสวรรค์ต่างเคารพในวัตรปฏิบัติของท่าน ถึงกับให้สมญานามว่า "เทพเจ้าแห่งค่ายจิรประวัติ"
อัตโนประวัติ ท่านเป็นชาวเวียดนาม เกิดเมื่อวันเสาร์แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2459 ที่บ้านเลขที่ 42 หมู่ 5 บ้านโพนโด่ง จังหวัดตาวิน ไซ่ง่อน (ปัจจุบัน คือ โฮจิมินห์ซิตี) ประเทศเวียดนาม เป็นบุตรของพ่อเซ็นแน และแม่สุพันธุ์ สุริยประภา (เซิงหงก)
ท่านศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดโพนโด่ง จังหวัดตาวิน จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2471
กระทั่งอายุครบ 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดจงโกรม ไซ่ง่อน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2479 มีพระธรรมจริยาพฤติ วัดมณีเพตราราม เจ้าคณะจังหวัดพระตระบอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ซิว เจ้าอาวาสวัดลำดวน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์วัชระ เจ้าอาวาสวัดกระพุ่มรัตน์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
พ.ศ.2480 ท่านได้เดินทางมาประเทศกัมพูชาและจำพรรษาที่วัดลำดวน อ.พระตะบอง
ภายหลังอุปสมบท จากบวชแล้วท่านศึกษาบาลี นักธรรมและเป็นครูประชาบาลไปด้วย สอนหนังสือในโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่ จ.พระตะบอง ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการปกครองของฝรั่งเศส
ปลายปี พ.ศ.2484 ไทยได้ปกครองจังหวัดพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ท่านได้กลับไปอยู่กับพระอุปัชฌาย์ที่สำนักสงฆ์ในเมืองเสียมราฐ และศึกษาจนสอบได้นักธรรมชั้นตรี-โท ที่สำนักเรียนวัดโพธิ์ศักดิ์ จ.พระตะบอง ก่อนไปศึกษาพระธรรมและปฏิบัติกัมมัฏฐานกับพระอาจารย์คิมออม วัดโพนโด่ง พระอาจารย์ถังฮาย วัดจงโกรม ประเทศเวียดนามใต้อยู่ 2 พรรษา ก่อนมาศึกษาด้านวิทยาคมที่สำนักพระครูแลน วัดมะถัก อ.ศรีโสภณ
จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 หลวงพ่อสมควรเดินธุดงค์เข้ามาประเทศไทยเพื่อศึกษาพระพุทธศาสนา ธุดงค์ผ่านอรัญประเทศ จ.ปราจีนบุรี สระบุรี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ไปจนถึงเชียงใหม่ แล้วย้อนลงมาจำพรรษาที่วัดถือน้ำ จ.นครสวรรค์ ในปี พ.ศ.2490 จากนั้นก็ออกธุดงค์ไปปฏิบัติธรรมที่เขากาซาก อ.ตาคลี เขาม่อนทลายนอน ถ้ำผาไท พระธาตุจอมแจ้ง พระธาตุช่อแฮ ถ้ำผาลม ถ้ำเชียงดาว ได้พบพระเกจิอาจารย์หลายรูป
ช่วงที่ธุดงค์ผ่านนครชัยศรี จ.นครปฐม ประมาณ พ.ศ.2499 ท่านไปช่วยสร้างอุโบสถวัดสาละวัน และมีโอกาสได้พบกับสมเด็จป๋า วัดโพธิ์ สมัยยังดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 7 จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นฐานานุกรม ที่พระครูใบฎีกา พร้อมทั้งเข้าร่วมงานพิธีฉลองครบ 25 ศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ.2500
ก่อนที่จะมาอยู่วัดถือน้ำ ท่านธุดงค์ผ่านนครสวรรค์มาทาง อ.ชุมแสง เข้าจำพรรษาที่วัดจอมคีรีนาคพรต (วัดเขา) ท่านได้เห็นทัศนียภาพ บึงบอระเพ็ดมีดอกบัวสวยงาม จึงอยากอยู่ที่เมืองนครสวรรค์
วัดถือน้ำในขณะนั้นถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาน้อยรูปเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม เมื่อญาติโยมไปกราบนิมนต์ขอให้ท่านกลับมาจำพรรษาที่วัดถือน้ำ เพื่อช่วยรวบรวมปัจจัยช่วยสร้างวัดถือน้ำให้เจริญรุ่งเรือง ท่านก็ไม่ขัดศรัทธา แต่เมื่อบูรณะวัดเสร็จแล้ว ท่านยังคงเดินทางไปพำนักตามป่าเขาแถว จ.อุทัยธานี เหมือนเดิม
จนถึงปี พ.ศ.2531 ท่านจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดถือน้ำแห่งเดียว
หลวงพ่อสมควร แม้จะเป็นพระสงฆ์ที่พูดน้อย แต่ทุกถ้อยคำของหลวงพ่อสมควร มีคุณค่าน่าฟัง ประสบการณ์ในการธุดงค์มีมากมาย
หลวงพ่อสมควร ท่านได้ศึกษาพระธรรม วิทยาคม การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นอกจากนี้ ท่านได้สร้างวัตถุมงคลไว้มากมายเพื่อแจกจ่ายให้ทหารไปรบ ให้ประชาชนไปบูชา เช่น เหรียญรุ่นแรกรูปกงจักร เหรียญโสฬสมงคล พระกริ่งทูลเกล้า รูปหล่อเหมือนรุ่นปืนไขว้ พระกริ่งเบญจรัตนมงคล เหรียญพระสยามเทวาธิราช เป็นต้น
ต่อมาในปี พ.ศ.2546 หลวงพ่อมีอายุมากขึ้นจึงต้องรับกิจนิมนต์น้อยลง และได้รับการดูแลจากแพทย์ประจำโรงพยา บาลค่ายจิรประวัติเป็นอย่างดี ซึ่งต่อมา หลวงพ่อก็ได้เข้าโรงพยาบาลเป็นประจำ เนื่องจากมีสุขภาพไม่แข็งแรง
สุดท้าย หลวงพ่อสมควร ได้มรณภาพลงอย่างสงบ ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ 2547 เวลา 13.10 น. ณ โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ สิริอายุ 88 ปี พรรษา 66 |
|