-- หมวดหมู่ --
พระคง ลำพูน
หนังสือพระ
หลวงปู่ทวด วัดไทร
หลวงปู่บุญศรี วัดใหม่ศรีสุทธาวาส
หลวงปู่ศุข วัดเขาจอมคีรีนาคพรต
หลวงปู่ศุข วัดโพธาราม
หลวงปู่สี วัดเขาถ้ำบุญนาค
หลวงพ่อกลิ้ง วัดเกรียงไกรเหนือ
หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
หลวงพ่อขาว ค่ายจิระประวัติ
หลวงพ่อขาว วัดชุมนุมสงฆ์
หลวงพ่อขาว วัดหนองยาว
หลวงพ่อคำ วัดสุวรรณรัตนาราม
หลวงพ่อจันทร์ วัดคลองระนง
หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร
หลวงพ่อชม วัดเนินหญ้าคา
หลวงพ่อชอุ้ม วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อช้อย วัดหัวงิ้ว
หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
หลวงพ่อทอง วัดเขากบ
หลวงพ่อทองดี วัดไทรเหนือ
หลวงพ่อทองอยู่ วัดเกยไชยเหนือ
หลวงพ่อท้าว กัลยาโณ
หลวงพ่อน้อย วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อน้อย วัดเวียงสวรรค์
หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดวังม้า
หลวงพ่อปาน วัดหนองนมวัว
หลวงพ่อผล วัดสวนขวัญ
หลวงพ่อผ่อง วัดวังมหากร
หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระเหนือ
หลวงพ่อพรหม วัดโกรกพระใต้
หลวงพ่อพลับ วัดเกรียงไกรกลาง
หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน
หลวงพ่อพัฒน์ วัดห้วยด้วน
หลวงพ่อพันธ์ วัดเขาล้อ
หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
หลวงพ่อภู่ วัดตะเคียนเลื่อน
หลวงพ่อรุ่ง วัดหนองศรีนวล
หลวงพ่อลี วัดป่าหัวตลุก
หลวงพ่อศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค
หลวงพ่อสมควร วัดถือน้ำ
หลวงพ่อสวาสดิ์ วัดห้วยร่วม
หลวงพ่อสว่าง วัดหาดทรายงาม
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่ออุย วัดช่องคีรี
หลวงพ่ออ่อน วัดบางมะฝ่อ
หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว
หลวงพ่อฮวด วัดหัวถนนใต้
หลวงพ่อเดิม วัดหนองบัว
หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ
หลวงพ่อเดิม วัดเขาทอง
หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
หลวงพ่อเฮง
หลวงพ่อแกร วัดส้มเสี้ยว
หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง
หลวงพ่อแขก วัดเขาดินเหนือ
หลวงพ่อแท่น วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อแนม วัดเขาหน่อ
หลวงพ่อโต - เพชร วัดหัวดงเหนือ
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้
หลวงพ่อโอ วัดหางน้ำหนองแขม
หลวงพ่อโอด วัดจันเสน
หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ
|
<-- ย้อนกลับ ::
หลวงพ่อคำ วัดสุวรรณรัตนาราม > พระบูชา >
หลวงพ่อคำ
รายละเอียด |
หลวงพ่อคำ ชาตสุโข วัดสุวรรณรัตนาราม
พระบูชารุ่นแรก หน้าตัก 5 นิ้ว พ.ศ.2514 แชมป์ที่ 1 งานนครสวรรค์ล่าสุด.ครับ
ประวัติหลวงพ่อ
หลวงพ่อคำ ชาตสุโข พื้นเพเป็นชาวจังหวัดอ่างทอง เกิดเมื่อวันอังคาร เดือนสาม(กุมภาพันธ์) ปีมะเส็ง พุทธศักราช 2436 เป็นบุตรของคุณพ่อแสง แสงศรี และคุณแม่กลิ่น แสงศรีครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำนามาแต่เดิม มีพี่น้องร่วมกัน 5 คนคือ 1.นางขลิบ 2.นางเล็ก 3.นายหาด 4.นางหนู 5. คือหลวงพ่อคำ ซึ่งท่านเป็นคนสุดท้อง ต่อมาโยมพ่อของหลวงพ่อได้ออกบวชและจำพรรษาอยู่ที่วัดอัมพวัน อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ส่วนท่านเองก็ได้เป็นลูกศิษย์วัดปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อท่านมาตั้งแต่อายุ ได้ 8 ขวบ วันหนึ่งหลวงพ่อของท่านเตรียมอัฐบริขารเพื่อออกธุดงค์ ก่อนไปหลวงพ่อของท่านได้บอกกับท่านว่า “พ่อไปนะลูก” สิ้นคำเท่านั้นแล้วหลวงพ่อของท่านก็เดินดุ่มลงกุฏิ ท่านถามหลวงพ่อของท่านว่า “หลวงพ่อจะไปไหน” หลวงพ่อของท่านไม่ตอบยังคงมุ่งหน้าเดินออกจากวัดไป ท่านวิ่งตามและตะโกนถามซ้ำแล้วซ้ำเล่า สุดท้ายหลวงพ่อของท่านจึงหันมาพูดว่า “ถ้าพ่อไม่เจออาจารย์ดี พ่อจะกลับมาภายใน 1ปี แต่ถ้าพ่อเจออาจารย์ดี ก็อย่าคอยพ่อเลยนะลูก” แล้วท่านก็เดินออกจากวัดไปโดยไม่หันกลับมาอีกเลย
เมื่อหลวงพ่อคำโตเป็นหนุ่ม จึงได้ข่าวว่า บิดาของท่านรุกขมูลไปอยู่ถ้ำ ทางภาคเหนือชื่อบ้านสระหนองแว้ง บิดาของท่านนอนอาพาธอยู่คนเดียวในถ้ำแต่บ้างก็ว่านอนอาพาธอยู่กลางป่าสัก ชาวบ้านไปพบเข้าจึงนำท่านมารักษาตัวที่วัดอ้อมแก้ว อ.สวรรคโลก จนกระทั่งมรณภาพ ก่อนมรณภาพชาวบ้านได้สอบถาม ชื่อ นามสกุล และชื่อญาติพี่น้องของท่านไว้ หลวงพ่อคำจึงทราบข่าวได้ในภายหลัง
ครั้งหนึ่งแม่ของหลวงพ่อคำ จะไปขอผู้หญิงมาเป็นภรรยาให้ท่าน แต่หลวงพ่อแอบไปได้ยินผู้หญิงคนนั้นใช้คำพูดรุนแรงขึ้นเสียงกับแม่ของตนเอง หลวงพ่อคำจึงบอกกับแม่ของท่านว่า “หญิงคนนี้ไม่ดี อย่าได้เอามาเป็นเมียเลย” ด้วยอุปนิสัยโน้มเอียงไปสู่การถือเพศพรหมจรรย์ ท่านก็เลยไม่มีภรรยาตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
หลังจากบิดาของหลวงพ่อออกรุกขมูลแล้วหายสาบสูญไป หลวงพ่อคำได้ทำหน้าที่ของความเป็นบุตรผู้รู้กตัญญูกตเวทิตาคุณ ปรนนิบัติเลี้ยงดูผู้เป็นแม่มาโดยตลอด จนกระทั่งแม่ของหลวงพ่อถึงแก่กรรมเมื่ออายุ 82 ปี ขณะนั้นหลวงพ่ออายุ 41 ปี ท่านได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาคุณครั้งสำคัญอีกครั้งโดยการโกนหัวบวชเณร หน้าไฟให้แก่แม่ของท่านที่วัดขุมทรัพย์ อ.เมือง จ.อุทัยธานี แล้วได้ไปหาอาจารย์บุตร ให้พาไปบวชพระที่วัดใหญ่ ต.ท่าฉนวน อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท โดยมีหลวงพ่อปั้น วัดหาดทะนง เป็นพระอุปัชฌาย์ในปี 2482 หลังอุปสมบทแล้วท่านได้ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อทิมวัดบ้านบน ต.ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
ต่อมาในปี 2475 หลวงพ่อได้ออกธุดงค์ไปทางภาคเหนือมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศพม่าเพื่อเสาะหา ศึกษาวิทยาความรู้ต่างๆ และกระทำบำเพ็ญความเพียรทางจิตอย่างจริงจัง
ประมาณปี 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบ ท่านได้กลับมาจำพรรษาปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อทิม วัดบ้านบน ผู้เป็นอาจารย์ตามเดิม
และในปีเดียวกันนั้นเองได้มีผู้ใจบุญผู้หนึ่งชื่อนายรัตน์ นุ่มทองคำ ได้มานิมนต์หลวงพ่อให้ไปช่วยสร้างวัดหัวทะเล ต.น้ำทรง อ.พยุหะ จ.นครสวรรค์
ที่ดินของวัดหัวทะเล เดิมเป็นที่ของนายถนอม นุ่มทองคำ ซึ่งเป็นพี่ชายของนายรัตน์ นุ่มทองคำ มีเนื้อที่ 10 ไร่ 1งาน แต่เดิมนั้นเป็นพื้นที่รกร้างเต็มไปด้วยป่าหญ้าคาและป่ายางหนาทึบจนแดดส่อง ไม่ถึง หลวงพ่อและลุงรัตน์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการชักชวนชาวบ้านบ้าง พระจากวัดบ้านบนบ้าง ร่วมกันหักร้างถางพงบุกเบิกพื้นที่จนเป็นพื้นที่โล่งเตียน หลังจากนั้นลุงรัตน์จึงเริ่มนำวัตถุมงคลของหลวงพ่อคำ บอกหาเงินสร้างกุฏิถวายหลวงพ่อไว้จำพรรษาได้ 1 หลัง และต่อมาลุงรัตน์ก็ยังได้นำวัตถุมงคลของหลวงพ่อบอกบุญหาเงินเพื่อสร้าง ศาสนสถาน ศาสนวัตถุต่างๆขึ้นมา จนกระทั่งมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึง ทั้งนี้ก็ด้วยอำนาจบุญญาบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ในองค์หลวงพ่อและวัตถุมงคล ของท่านโดยแท้ (หากพิจารณาตามนี้จึงจะพอสันนิษฐานได้ว่าได้มีการริเริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้น มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2489 – 2490 เรื่อยมาตามลำดับ )
บุคลิกของหลวงพ่อนั้นหากมองจากหน้าตาท่าทางท่านดูเหมือนท่านจะเป็นคนดุ แต่แท้ที่จริงแล้วหลวงพ่อท่านมีอุปนิสัยอ่อนโยน เยือกเย็น มีอัธยาศัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สร้างความเชื่อถือศรัทธาและความซาบซึ้งตรึงใจ ให้กับผู้ที่เข้าไปพบปะกราบไหว้ได้อย่างดียิ่ง มีคุณลุงท่านหนึ่งเล่าให้ฟังว่าสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่แกไปกราบหลวงพ่อซึ่ง เป็นเวลาที่ค่อนข้างดึกแล้ว แต่หลวงพ่อท่านก็ยังกล่าวทักทายต้อนรับขับสู้เป็นอย่างดีมิได้บ่ายเบี่ยง ด้วยเรื่องเวลาแต่อย่างไร และที่สำคัญหลวงพ่อท่านยังมีน้ำใจชงโอวัลตินให้ลุงดื่มด้วยตัวท่านเอง สร้างความปลาบปลื้มปีติใจให้แก่คุณลุงยิ่งนัก ใครมาใครไปท่านจะบอกให้ทานนู่นทานนี่เท่าที่จะมีอยู่ใกล้ๆตัวท่านอยู่เป็น ประจำ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆในกุฏิท่านใครจะขอเอาไปใช้ทำประโยชน์อย่างไรท่านให้ โดยที่ไม่มีแสดงอาการห่วงหวงเลย ท่านมีอัธยาศัยต้อนรับขับสู้เสมอภาคกันหมดไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่แบ่งยศถาบรรดาศักดิ์ ท่านจะทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอยู่เป็นนิจ และองค์ท่านก็มีจิตวิทยาในการโน้มน้าวจูงใจคนสูง ใครจะมีอุปนิสัยมาอย่างไร ท่านก็คุยเข้ากันได้กับทุกอุปนิสัย ท่านเข้าใจสนทนาหว่านล้อมจนกระทั่งสุดท้ายก็ต้องยอมลงให้แก่ท่าน ท่านก็ได้โอกาสสอดแทรกธรรมมะ หรือคติเตือนใจเข้าไปได้ ญาติโยมเข้ามาหาเครื่องรางของขลัง ท่านก็มักจะสอนให้ปฏิบัติที่ตัวเองมากกว่า เช่นมาหานางกวัก ท่านก็ว่า “จะมาหานางกวักอะไรที่นี่หล่ะ ไปหานางกวักที่บ้านซิดีกว่าเยอะ”โยมก็ไม่เข้าใจว่านางกวักจะมีที่บ้านของเขา ได้อย่างไรก็เลยถามหลวงพ่อว่านางกวักที่บ้านเป็นยังไง หลวงพ่อท่านก็เฉลยให้ฟังว่า “ก็หัวจอบซิจ๊ะ ยิ่งใช้เท่าไรก็ยิ่งรวยเท่านั้น” แม้แต่เรื่องทำบุญท่านก็ว่า “บุญน่ะไม่ใช่จะมาทำที่วัดกันอย่างเดียว กลับไปก็ต้องไปทำที่บ้านด้วย ขยัน อดทน ประหยัด ไม่สุรุ่ยสุร่าย ขยันให้เป็นหลัก ยกตัวอย่างโยมขยันทำนาได้ข้าวมาก ชาวบ้านเขาก็ว่า เอ้อ..ปีนี้มันได้ข้าวเยอะบุญของมันเน๊อะ นี่ไงเล่าบุญ” และโดยเฉพาะเด็กๆท่านจะเอ็นดูมากถ้าท่านเห็น ท่านก็มักจะเรียกมาแจกพระบ้าง แจกขนมนมเนยบ้าง สังเกตได้ว่าเหรียญของท่านจะทำเป็นเหรียญเล็กๆขนาดกะทัดรัดสำหรับคล้องคอ เด็กๆได้เหมาะสม และเหรียญของท่านก็สร้างปาฏิหาริย์ให้กับเด็กๆมามากต่อมากด้วยเช่นกัน ในคอเด็กๆในละแวกนั้นส่วนใหญ่จะมีเหรียญหรือไม่ก็ล๊อคเก๊ตของท่านเกือบทุกคน เด็กๆก็รักและเคารพนับถือท่านมาก บ้างก็ไปปัดกวาดเช็ดถู บ้างก็ไปบีบนวดให้ท่านท่านก็ได้โอกาสอบรมสั่งสอนคุณธรรมให้แก่เด็กๆไปในตัว
ในสมัยที่ท่านอยู่พวกหมา พวกไก่ใครมาปล่อยไว้หรือพัดหลงมาเองท่านก็มีเมตตารับเลี้ยงไว้หมด คำพูดคำจาของท่านออกจะนุ่มนวลและเป็นกันเองตามแบบฉบับลูกทุ่งโดยแท้ ไม่ว่าเหตุการณ์จะดีร้ายอย่างไร ท่านจะว่า “ ดีจ๊ะดี ” หมด เคยมีโยมท่านหนึ่งมาบอกหลวงพ่อว่าไฟไหม้บ้านเขา หลวงพ่อก็บอกว่า “ไฟไหม้ก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้บ้านใหม่ล่ะซิหว่า” น้ำท่วมอ้อยท่วมข้าวท่านก็ว่าดี “น้ำท่วมก็ดีซิจ๊ะ ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียเวลาดูแลมันอีกไงล่ะ” อย่างนี้เป็นต้น เรื่องขันติธรรมท่านก็เป็นหนึ่งตลอดอายุสังขารในเวลาที่ท่านเจ็บป่วย ท่านไม่เคยออกปากขอความช่วยเหลือจากใคร และไม่เคยแสดงอาการให้ใครเห็น เคยมีลูกศิษย์จะพาไปหาหมอ ท่านไม่ยอมไป ท่านว่าของท่านว่า “เป็นเองก็หายเองซิหว่า” ในด้านการขบฉัน ด้วยนิสสัยของพระปฏิบัติที่เคยถือธุดงค์เป็นวัตรทำให้ท่านมีปกติที่จะฉันแบบ เอกา คือการฉันในบาตรแต่อย่างเดียวไม่ใช้ภาชนะอื่น และฉันมื้อเดียว แต่เพื่อไม่ให้ขัดศรัทธาญาติโยมท่านก็ผ่อนปรนลงบ้างในกรณีที่มีกิจนิมนต์ฉัน เพลท่านก็สามารถฉลองศรัทธาได้ไม่ให้เสียกำลังใจญาติโยม เวลาท่านออกบิณฑบาต ท่านจะมีบาตรของท่านติดตัวไปเพียงใบเดียวเท่านั้น ใครจะใส่หวาน ใส่คาว ก็เทใส่รวมลงไปในนั้น บางคนหวังดีไม่อยากให้กับข้าวปนกันเกรงว่าท่านจะฉันไม่ได้รส พอท่านรับบิณฑบาตแล้วลับหลังท่านก็แก้ถุงออกแล้วเทรวมลงไปตามเดิม ท่านบอกของท่านว่า “ อย่างนี้ฉันง่ายดีจ๊ะ ไม่ต้องไปคลุกเคล้า เดี๋ยวก็ลงไปเคล้ากันในท้องอยู่ดีแหละจ๊ะ” เส้นทางที่ท่านใช้บิณฑบาตก็แปลกเช่นกันพอได้เวลาสักประมาณ 4 -5 เย็นท่านจะพาพระลูกวัดปัดกวาดทำความสะอาดทุกวันตั้งแต่ออกจากวัดจนกระทั่ง สุดเส้นทางบิณฑบาตทั้งขาไปและขากลับอยู่เป็นประจำ ท่านเป็นพระขยัน นอกเสียจากเวลาปฏิบัติของท่านแล้ว ท่านมักจะทำนู่นทำนี่อยู่เสมอ กว่าจะเข้ากุฏิจำวัดได้ก็ค่อนข้างดึกบางคราวท่านก็นั่งปฏิบัติทั้งคืน หากจำวัดท่านก็ตื่นแต่เช้าประมาณตี 3 ทำกิจวัตรส่วนตัวทำวัตรสวดมนต์ตามปกติของท่าน สักประมาณตี 4 ท่านก็จะออกปัดกวาดบริเวณวัด พระลูกวัดรูปไหนยังไม่ตื่นท่านก็ไม่ดุไม่ว่าแต่ท่านจะไปเที่ยวกวาดอยู่ใน บริเวณใกล้ๆกุฏิของพระรูปนั้นนั่นเอง นับว่าเป็นอุบายวิธีที่แยบคาย การจำวัดของท่านท่านจะจำวัดในท่าสีหไสยาสน์เสมอ จะเห็นได้จากรูปอิริยาบถต่างๆของท่านที่วัดสุวรรณรัตนาราม และด้วยปฏิปทาจริยาวัตรที่ท่านถือปฏิบัติบ่มเพาะบำเพ็ญเพียรมาอย่างอุกฤษฏ์ นี้เอง จึงเป็นผลให้วัตถุมงคลของท่านทรงอานุภาพศักด์สิทธิ์ แม้แค่เสกเป่าเพียงพ่วงเดียวก็ก่อให้เกิดความเข้มขลังมีประสบการณ์เป็นพยาน ยืนยันมาหลายต่อหลายราย เมื่อจิตของท่านยังทรงกำลังฌานอยู่ ท่านจะกำหนดที่อะไรกะแสจิตก็ยิ่งไวต่อสิ่งนั้น ดังที่ชาวบ้านเกรงบารมีท่านกันนักหนาในเรื่องวาจาสิทธิ์ของท่าน ท่านพูดอย่างไรย่อมเป็นไปอย่างนั้นไม่มีพลาดเลย ยกตัวอย่าง ท่านเห็นญาติโยมที่กราบลากลับไปขึ้นรถกันหมดแล้วแต่ยังไม่ทันได้สตาร์ท เครื่อง ท่านจึงทักว่า “ เอ้า..มันยังไม่ไปกันหรือหว่าน่ะ” ทีนี้เองเจ้าของรถจะสตาร์ทรถอย่างไรก็ไม่ติด พอท่านเห็นท่าไม่ค่อยดีท่านจึงกล่าวว่า “เออ..ไปกันได้แล้ว” เท่านั้นแหละรถก็สตาร์ทติดชึ่ง ได้อย่างง่ายดาย ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่เล่ากันว่าหากไม่ขออนุญาตท่านแล้วจะถ่ายรูปท่าน อย่างไรก็ถ่ายไม่ติด การล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความพิศวงงงงวยให้ กับบุคคลใกล้ชิดอยู่เสมอ เช่น เรื่องของคุณหมอในตลาดพยุหะท่านหนึ่งมากราบหลวงพ่อเมื่อเสร็จธุระแล้วก่อน กลับคุณหมอก็กราบขอพรหลวงพ่อ แต่คราวนี้แทนที่หลวงพ่อจะให้พรตามปกติ หลวงพ่อกลับกล่าวทักขึ้นมาว่า เออ..ไปเถอะอย่างหมอเนี่ยถึงชนกันก็ไม่ตาย คุณหมอก็งงๆกับพรของหลวงพ่อเช่นกัน แต่เมื่อขับรถมาถึงสี่แยกพยุหะปรากฏว่ามีรถวิ่งเข้ามาชนรถคุณหมอจริงๆ สภาพรถยับเยินแต่คุณหมอไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างไร
ในเรื่องโชคลาภนั้นมีอยู่มากมายเช่นกัน อย่างเช่นคราวหนึ่งเมื่อนายโย มากราบหลวงพ่อแต่การกราบคราวนี้ต่างจากการเข้ามากราบทุกๆครั้ง เนื่องจากเมื่อนายโยก้มกราบหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อกลับใช้เท้าเหยียบลงไปบนหัวของนายโย สร้างความประหลาดใจให้กับนายโยเป็นอย่างมาก และในงวดนั้นนั่นเองปรากฏว่านายโยถูกล๊อตตารี่รางวัลที่ 1 อย่างไม่คาดคิด คราวนี้เองนายโยจึงเข้าใจพระคุณรอยเท้าหลวงพ่อที่ประทับลงมาบนศรีษะว่ามี ความหมายและเป็นศิริมงคลต่อตนอย่างไร
มีโยมคนหนึ่งมาขอหวยจากหลวงพ่อ แต่หลวงพ่อก็ปฏิเสธบ่ายเบี่ยงว่าท่านไม่รู้หรอกว่าหวยมันจะออกเลขอะไรถ้า อยากรู้ก็ให้ไปถามกองสลากกินแบ่งโน่น โยมบอกว่าไปไม่ถูกแต่เขาได้เลข 82 มาจากหลวงพ่ออื่น หลวงพ่อก็เลยควักแบงค์ 20 ฝากโยมซื้อหวยเลขนั้นด้วย “งั้นข้าฝากซื้อ 20 นะ” ชาวบ้านเห็นหลวงพ่อซื้อเลข 82 ก็พากันซื้อเลข 82 กันยกใหญ่ ปรากฏว่าหวยงวดนั้นออก 20 ชาวบ้านได้ยินแล้วหงายท้องตามๆกันที่สำคัญความหมายของหลวงพ่อผิด
คุณลุงอีกท่านบ้านอยู่ทางวัดดงขวาง จ.อุทัยธานีเล่าว่า ตอนแกบวชแกไปสึกกับหลวงพ่อคำ(แกเล่าว่าตอนนั้นหลวงพ่ออยู่ที่วัดอีเติ่ง) แกแลเห็นกุฏิหลวงพ่อจุดเทียนสว่างจนดึกจนดื่นด้วยความสงสัยแกจึงแอบดู ปรากฏว่าหลวงพ่อท่านนั่งสมาธิตลอดทั้งคืน เมื่อตอนหัวค่ำหลังจากที่พระลูกวัดแยกย้ายกันไปจำวัดแล้วแกก็เห็นหลวงพ่อ เดินไปเดินมา เหมือนกับเดินจงกรมแต่แกก็ไม่ได้เอะใจอะไร ต่อเมื่อฟ้าสว่างท่านเดินผ่านกุฏิหลวงพ่ออีกครั้ง ทำให้ลุงแกถึงกับอึ้ง..เพราะปรากฎว่าหลังกุฏิหลวงพ่อเป็นลำคลองที่มีน้ำอยู่ เต็มตลิ่ง นอกจากนั้นลุงท่านนี้ยังเล่าว่าหลวงพ่อท่านกล่าวถึงหลวงปู่แหวนวัดดอยแม่ ปั๋ง เหมือนกับท่านไปมาหาสู่กันอยู่เสมอทั้งๆที่หลวงพ่อท่านก็ไม่ได้ไปไหนไกลเลย
สำหรับข้อห้ามในการใช้เครื่องรางของขลังของหลวงพ่อ ท่านไม่มีข้อห้ามยุ่งยากเหมือนหลวงปู่หลวงพ่อท่านอื่นๆเลย ท่านห้ามผิดศีลข้อ 3 เป็นหลัก และก็ห้ามด่าพ่อด่าแม่ เท่านั้นเอง ท่านว่า ทองคำอย่างไรก็เป็นทองคำ ตกน้ำก็เป็นทองคำ ตกไฟละลายแล้วก็ยังเป็นทองคำ อยู่วันยันค่ำ
ความมหัศจรรย์ในองค์ท่านผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่าเล่าวันนึงก็ไม่หมด ด้วยเหตุที่หลวงพ่อเป็นพระผู้นั่งอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อมของชาวบ้านทุก เพศทุกวัยจึงพูดได้เต็มปากว่าท่านเป็นเสมือนหนึ่ง “เทพเจ้าแห่งน้ำทรง”
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากคุณฝุ่นดิน (สูญญากาศ) และคุณสิทธิ์พยุหะ |
|